ภาพใหม่จาก “เจมส์ เว็บบ์” อาจนำไปสู่การค้นพบวัตถุทางดาราศาสตร์ชนิดใหม่
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ได้ใช้กล้องอินฟราเรดถ่ายเข้าไปในเนบิวลานายพราน (Orion) และพบเข้ากับวัตถุคล้ายดาวเคราะห์หลายสิบดวง แต่มีคุณสมบัติบางอย่างที่ทำให้นักดาราศาสตร์ประเมินว่า พวกมันไม่ใช่ดาวเคราะห์และอาจเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ชนิดใหม่
วัตถุดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า “วัตถุคู่มวลดาวพฤหัสบดี” (Jupiter-mass binary object) หรือ “จัมโบ” (Jumbo) โดยมีขนาดและมวลพอ ๆ กับดาวพฤหัสบดี แต่ลอยตัวอย่างอิสระในอวกาศ ไม่ได้อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ใด ๆ
การค้นพบสิ่งมีชีวิตนอกโลก อาจเป็นไปได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
อีก 250 ล้านปีจะเกิด “มหาทวีปใหม่” กวาดล้างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด
เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี
นั่นทำให้นักดาราศาสตร์เกิดความฉงน เพราะวัตถุดังกล่าวมีขนาดเล็กเกินไปที่จะเป็นดาวฤกษ์ แต่หากจะบอกว่าเป็นดาวเคราะห์ ก็ท้าทายคำจำกัดความทั่วไปของดาวเคราะห์ที่จะต้องอยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์แม่
การค้นพบนี้ดูเหมือนจะทำให้ทฤษฎีเดิมเกี่ยวกับการกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์สั่นคลอน เนื่องจากไม่ควรเป็นไปได้ที่จะมีการก่อตัวของวัตถุขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ในกระบวนการที่น่าจะก่อให้เกิดดาวฤกษ์ภายในกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซในเนบิวลา
ศาสตราจารย์ มาร์ก แม็กคอเรียน ที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์และการสำรวจขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) กล่าวว่า การสำรวจดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจหลังจากข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน ซึ่งบอกเป็นนัยถึงการมีอยู่ของวัตถุลึกลับดังกล่าวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“เรากำลังมองหาวัตถุเล็ก ๆ เหล่านี้ และเราก็พบมัน เราพบว่าพวกมันมีขนาดเล็กเท่ากับดาวพฤหัส บ้างก็มีมวลครึ่งหนึ่งของมวลดาวพฤหัสบดี ลอยได้อย่างอิสระและไม่ได้ยึดติดกับดาวฤกษ์” แม็กคอเรียนกล่าว
วัตถุที่พบเป็นมวลก๊าซขนาดใหญ่ ร้อน องค์ประกอบมีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เผยให้เห็นไอน้ำและมีเทนในชั้นบรรยากาศ แต่มันไม่ใช่ดาวเคราะห์ในทางเทคนิค และที่ทีมงานตั้งชื่อว่าวัตถุคู่มวลดาวพฤหัสบดี ก็เนื่องจากว่า ในบรรดาวัตถุคล้ายดาวเคราะห์หลายร้อยดวงที่พบนี้ มีหลายสิบดวงที่อยู่กันเป็นคู่
“พวกเราส่วนใหญ่ไม่มีเวลามาสรุปการอภิปรายเกี่ยวกับว่าสิ่งไหนเป็นดาวเคราะห์และสิ่งไหนไม่ใช่ดาวเคราะห์ มันเหมือนกับคุณบอกว่า แมวของผมคล้ายชิวาวา แต่มันไม่ใช่ชิวาวา มันคือแมว” แม็กคอเรียนกล่าว
จัมโบมีอายุประมาณ 1 ล้านปี ซึ่งถือว่ายังเป็นเพียงเด็กทารกหากมองในมุมทางดาราศาสตร์ และมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส แต่หากไม่มีดาวฤกษ์อยู่ใกล้เคียง พวกมันก็จะเย็นลงอย่างรวดเร็วและจะมีอุณหภูมิในบางช่วงที่สามารถอยู่อาศัยได้ก่อนที่จะกลายเป็นหนาวเย็นอย่างไม่น่าเชื่อ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมันเป็นมวลก๊าซยักษ์ใหญ่ พื้นผิวของพวกมันจะไม่เป็นแหล่งน้ำของเหลว แม้แต่ในช่วงที่มีอุณหภูมิเย็นสั้ นๆ ก็ตาม ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่น่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
บางครั้งมีการพบเห็นวัตถุขนาดเล็กกว่าที่จัดเรียงอย่างอิสระ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าพวกมันก่อตัวขึ้นในแหล่งกำเนิดหรือถูกดีดออกจากจานดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์อื่น ซึ่งแบบหลังนี้อธิบายได้ยากกว่า เนื่องจากจากวัตถุขนาดประมาณดาวพฤหัสที่พบหลายร้อยดวง มีวัตถุหลายสิบดวงอยู่เป็นคู่ “คุณจะโยนสองสิ่งออกจากวงโคจรของดาวฤกษ์และทำให้มันกลับมารวมกันอีกครั้งได้อย่างไร” แม็กคาเรียนถาม
ผลการค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นฉบับพิมพ์ล่วงหน้า แต่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่า วัตถุที่นักดาราศาสตร์
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก NASA, ESA, CSA / Science leads and image processing: M. McCaughrean, S. Pearson, CC BY-SA 3.0 IGO
ค้นบ้านเด็กก่อเหตุยิงกลางพารากอน พบปืนบีบีกัน-กระสุนเพียบ!
ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดอ่อนค่าลงอีก 37.11 จากดอลลาร์แข็ง-ฟันด์โฟลว์ไหลออก
เว็บบล็อกเผย "LINE" นิยมใช้เพียง 3 ประเทศทั่วโลกเท่านั้น