เมื่อเดือน ก.ย. 2023 องค์การนาซา (NASA) ได้มีภารกิจสำคัญ นั่นคือโครงการ DART หรือการนำยานสำรวจพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเพื่อเบี่ยงวิถี ป้องกันดาวเคราะห์น้อยที่อาจเสี่ยงต่อการพุ่งชนโลกในอนาคต
โดยภารกิจ DART ประสบความสำเร็จในการพุ่งชน ดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส (Dimorphos) ซึ่งโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยอีกดวง ดีดิมอส (Didymos) และสามารถเปลี่ยนวิถีโคจรของไดมอร์ฟอสได้ 32 นาที จากเดิมที่หวังไว้ว่าจะเปลี่ยนวิถีได้แค่ 73 วินาทีเท่านั้น
37 ปีเพิ่งรู้คำตอบ! ว่าอะไรซ่อนอยู่ในใจกลางซูเปอร์โนวา 1987A
พบดวงจันทร์ดาวยูเรนัส-เนปจูนเพิ่ม 3 ดวง หนึ่งในนั้นทุบสถิติมีขนาดเล็กที่สุด
พบ “ควอซาร์” สว่างสุดในจักรวาล สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 500 ล้านล้านเท่า
ไดมอร์ฟอสและดีดิมอสเป็นดาวเคราะห์น้อยซึ่งแม้จะไม่เป็นภัยคุกคามต่อโลก แต่ระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ก็เป็นเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบในการทดสอบเทคโนโลยีการพุ่งชนเปลี่ยนวิถี เนื่องจากขนาดของไดมอร์ฟอสเทียบได้กับดาวเคราะห์น้อยที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อโลก
แต่นอกจากการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิถีวงโคจรแล้ว งานวิจัยล่าสุดยังพบว่า โครงการ DART อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพต่อดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสด้วยคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
การทำความเข้าใจองค์ประกอบทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยถือว่ามีความสำคัญ เพราะดาวเคราะห์น้อยมีหลายประเภท ทั้งดาวเคราะห์น้อยที่เกิดจากหินแข็งทั้งก้อน หรือที่เกิดจากกองเศษหินที่ถูกยึดไว้ด้วยกันโดยแรงโน้มถ่วง ซึ่งแต่ละประเภทก็ใช้เทคนิคการเบี่ยงวิถีที่แตกต่างกัน
ก่อนที่ DART จะชนกับไดมอร์ฟอส ยานได้ส่งรายละเอียดที่น่าเหลือเชื่อของพื้นผิวที่ปกคลุมด้วยก้อนหินของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้กลับมายังโลก ซึ่งช่วยให้นักวิจัยเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการก่อตัวของดาวเคราะห์น้อย
นักดาราศาสตร์ยังสามารถดำเนินการสังเกตการณ์ผลการชนด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินและอวกาศ และดาวเทียม LICIACube ของอิตาลีที่ติดตามภารกิจ DART เป็นเวลาสั้น ๆ และถ่ายภาพผลที่ตามมาเป็นเวลา 5 นาที 20 วินาที
การสังเกตการณ์เผยให้เห็นว่า การชนของ DART ได้ทำให้มีกลุ่มวัตถุขนาดยักษ์ลอยกระจายออกสู่อวกาศ
ขณะนี้ นักวิจัยได้ดำเนินการสืบสวนไปอีกขั้นด้วยการใส่ข้อมูลทั้งหมดนี้ลงในซอฟต์แวร์เพื่อช่วยตอบคำถามสำคัญ ๆ เช่น ระบุปฏิกิริยาของดาวเคราะห์น้อยต่อการชนกัน และบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเกิดหลุมอุกกาบาตประเภทใด
พวกเขาพบว่า แทนที่จะสร้างกลุมอุกกาบาตธรรมดา ๆ บนไดมอร์ฟอส การชนของ DART กลับเปลี่ยนรูปร่างดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด
ทีมนักวิจัยได้จำลองผลกระทบโดยใช้รหัสฟิสิกส์การกระแทกเชิงพลศาสตร์ของไหลของอนุภาคแบบเรียบของเบิร์น (Bern smoothed-particle hydrodynamics shock physics code) เพื่อคำนวณผลลัพธ์
ดร.ซาบินา ราดูคาน นักวิจัยจากภาควิชาวิจัยอวกาศและวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ สถาบันฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเบิร์น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “นี่เป็นเครื่องมือคำนวณที่ออกแบบมาเพื่อจำลองเหตุการณ์พุ่งชนโดยเฉพาะ โดยทั่วไปแล้ว รหัสฟิสิกส์แรงกระแทกมีความสำคัญในการศึกษาการชนและกระบวนการกระแทก โดยรวมแบบจำลองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงแบบจำลองวัสดุและแบบจำลองความพรุน เพื่อแสดงสภาพทางกายภาพในเหตุการณ์การปะทะที่มีความกดดันและอุณหภูมิสูง”
ซอฟต์แวร์นี้เคยถูกใช้จำลองการชนของยานอื่น ๆ มาก่อนแล้ว เช่น ยานอวกาศฮายาบูสะ 2 ของญี่ปุ่นที่เจาะเข้าไปในดาวเคราะห์น้อยริวกูในปี 2019
ทีมงานใช้ระบบนี้ทำการจำลอง 250 ครั้งเพื่อสร้างภาพ 2 ชั่วโมงแรกหลังจากไดมอร์ฟิสถูก DART พุ่งชน โดยอิงจากข้อมูลที่พวกเขามี ส่วนปัจจัยต่าง ๆ ที่พวกเขาไม่ทราบก็ปรับให้มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป
“เช่น ความใกล้ชิดของการห่อตัวของก้อนหิน ความหนาแน่น ความพรุนของดาวเคราะห์น้อย และการยึดเกาะกันโดยรวม นอกจากนี้เรายังตั้งสมมติฐานที่สมเหตุสมผลโดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพของอุกกาบาตอื่นที่มีลักษณะคล้ายไดมอร์ฟอส” ราดูคานกล่าว
หลังจากดำเนินการจำลองแล้ว ทีมงานได้โฟกัสไปที่ข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลดั้งเดิมของ DART มากที่สุด
ผลการวิจัยระบุว่า ไดมอร์ฟอสเป็นดาวเคราะห์น้อยที่เกิดจากเศษหินที่หลุดออกมาจากดาวเคราะห์น้อยดีดิมอส และยึดติดกันได้ด้วยแรงโน้มถ่วงต่ำ
ดร.มาร์ติน จัตซี จากสถาบันฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยเบิร์น หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “โดยปกติด้วยแรงโน้มถ่วงบนโลก จะทำให้หลุมอุกกาบาตเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตที่มีมุมกรวยโดยประมาณ 90 องศา”
เขาเสิรมว่า “แต่สิ่งที่เราเห็นจากการพุ่งชนไดมอร์ฟอสของ DART คือ เกิดหลุมที่มีมุมกรวยกว้างกว่ามาก ซึ่งขยายได้สูงสุดถึง 160 องศา โดยได้รับอิทธิพลจากรูปทรงโค้งของพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเป็นหลัก และหลุมอุกกาบาตก็ขยายวงออกไป เพราะทั้งแรงโน้มถ่วงและการยึดเกาะตัวกันของดาวเคราะห์น้อยอยู่ในระดับต่ำมาก”
นั่นเป็นผลให้เกิดหลุมอุกกาบาตที่ขยายใหญ่ขึ้นจนกระจายไปทั่วทั้งไดมอร์ฟอส เปลี่ยนรูปร่างของมันไปโดยสิ้นเชิง
หลังจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) รวมถึงราดูคานและจัตซี จะเปิดตัวภารกิจ “เฮรา” (Hera) เพื่อส่งยานขึ้นไปสำรวจผลกระทบบนไดมอร์ฟอสให้เห็นกับตา โดยคาดว่าจะไปถึงช่วงปลายปี 2026
“เฮราอาจจะไม่พบหลุมอุกกาบาตที่เกิดจาก DART … สิ่งที่มันพบอาจจะเป็นพื้นผิวที่แตกต่างออกไปมาก” ราดูคานกล่าว
เรียบเรียงจาก CNN
ผลบอลเอฟเอ คัพ รอบ 5 แมนซิตี้ ถล่ม ลูตัน 6-2 ลิ่วรอบ 8 ทีม
ผลจับสลากเอฟเอ คัพ รอบ 8 ทีม ลิเวอร์พูล ดวล แมนยู ศึกแดงเดือด
หลังฉากชีวิต "บิ๊กโจ๊ก" ตายแล้วฟื้น เส้นใหญ่จริงไหม ?